การหลบหนีและการถูกขับไล่ของชาวเยอรมัน (ค.ศ. 1944–1950)
การหลบหนีและการถูกขับไล่ของชาวเยอรมัน (ค.ศ. 1944–1950)

การหลบหนีและการถูกขับไล่ของชาวเยอรมัน (ค.ศ. 1944–1950)

ในช่วงขั้นตอนสุดท้ายของสงครามโลกครั้งที่สองและช่วงหลังสงคราม พลเรือนชาวเยอรมันและประชากรเชื้อชาติเยอรมันได้หลบหนีหรือถูกขับไล่ออกไปจากประเทศต่างๆในทวีปยุโรปตะวันออกและกลาง และส่งไปยังดินแดนที่เหลืออยู่ของเยอรมนีและออสเตรีย หลังสงคราม, การขับไล่ชาวเยอรมันได้กลายเป็นส่วนที่สำคัญของการกำหนดโครงร่างทางภูมิรัฐศาสตร์และชาติพันธุ์ในทวีปยุโรปตะวันออกในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ด้วยความพยายามที่จะสร้างประเทศชาติที่มีประชากรเชื้อชาติเดียวกันภายในขอบเขตในการนิยามใหม่[1]ในระหว่างปี ค.ศ. 1944 และ 1948 ประชากรราวประมาณ 31 ล้านคน รวมทั้งผู้ที่มีเชื้อสายเยอรมัน (Volksdeutsche) เช่นเดียวกับพลเรือนชาวเยอรมัน (Reichsdeutsche), ถูกย้ายอย่างถาวรหรือชั่วคราวจากทวีปยุโรปตะวันออกและกลาง[2] ในปี ค.ศ. 1950 จำนวนทั้งหมดประมาณ 12 ล้านคน[3]ชาวเยอรมันได้หลบหนีหรือถูกขับไล่ออกไปจากทวีปยุโรปตะวันออก-กลางเข้าสู่เยอรมนีและออสเตรียภายใต้การยึดครองของฝ่ายสัมพันธมิตร รัฐบาลเยอรมนีตะวันตกได้รับประชากรมาทั้งหมด 14.6 ล้านคน[4], รวมถึงผู้คนที่มีเชื้อสายเยอรมัน 1 ล้านคนในดินแดนที่ถูกพิชิตได้โดยนาซีเยอรมนีในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ผู้คนที่มีเชื้อชาติเยอรมันได้อพยพไปยังเยอรมนีในช่วงหลังปี ค.ศ. 1950 และเด็กที่เกิดมาก็ถูกขับไล่พร้อมกับพ่อแม่ ด้วยจำนวนที่ใหญ่ที่สุดมากจากดินแดนเยอรมันที่มีมาก่อนที่จะยกให้แก่โปแลนด์[5][6] และสหภาพโซเวียต(ประมาณ 7 ล้านคน) และจากเชโกสโลวาเกีย(ประมาณ 3 ล้านคน)พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบรวมถึงอดีตดินแดนทางตะวันออกของเยอรมนีซึ่งถูกผนวกโดยโปแลนด์[7] และสหภาพโซเวียตในช่วงหลังสงคราม เช่นเดียวกับชาวเยอรมันที่อาศัยอยู่ในชายแดนก่อนสงคราม อันได้แก่ โปแลนด์ เชโกสโลวาเกีย ฮังการี ยูโกสลาเวีย และรัฐบอลติก นาซีได้มีแผน—ที่เสร็จสมบูรณ์เพียงบางส่วนก่อนที่นาซีจะได้รับความปราชัย—เพื่อกำจัดชาวสลาฟและชาวยิวจำนวนมากออกไปจากทวีปยุโรปตะวันออกและตั้งถิ่นฐานในพื้นที่ด้วยชาวเยอรมัน[8][9]ยอดผู้เสียชิวิตทั้งหมดอันเนืองมาจากการหลบหนีและถูกขับไล่นั้นได้มีการถกเถียงโต้แย้งกัน มีจำนวนประมาณตั้งแต่ 500,000-600,000 คน[10] [11] และสูงถึง 2 ล้านคน.[12][13][14]การขับไล่ที่เกิดขึ้นในสามช่วงที่มีความซับซ้อนกัน, ช่วงแรกคือการจัดตั้งกลุ่มผู้อพยพของผู้ที่มีเชื้อชาติเยอรมันโดยรัฐบาลนาซี ด้วยการเผชิญหน้ากับการรุกของกองทัพแดง ตั้งแต่กลางปี ค.ศ. 1944 ถึง ต้นปี ค.ศ. 1945[15] ช่วงที่สองคือการหลบหนีอย่างไม่เป็นระเบียบของผู้คนที่มีเชื้อชาติเยอรมันทันทีหลังจากที่ความพ่ายแพ้ของกองทัพแวร์มัคท์ ช่วงที่สามคือการขับไล่อย่างเป็นระบบที่เพิ่มมากขึ้นภายหลังการประชุมพ็อทซ์ดัม[15] ซึ่งได้นิยามใหม่ด้วยพรหมแดนของทวีปยุโรปกลางและอนุมัติในการขับไล่ผู้ที่มีเชื้อชาติเยอรมันจากโปแลนด์ เชโกสโลวาเกีย และฮังการี[16] พลเรือนชาวเยอรมันจำนวนมากได้ถูกเกณฑ์ให้ใช้แรงงานโดยบังคับซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการซ่อมแซมความเสียหายให้แก่ประเทศในทวีปยุโรปตะวันออก[17] การขับไล่ครั้งใหญ่ได้เสร็จสิ้นอย่างสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 1950[15] มีการคาดประมาณจากจำนวนทั้งหมดของประชาชนที่ผู้ที่มีเชื้อสายเยอรมันที่ยังคงอาศัยอยู่ในทวีปยุโรปตะวันออกและกลางในปี ค.ศ. 1950 มีอยู่ในระหว่าง 700,000 คน ถึง 2.7 ล้านคน

แหล่งที่มา

WikiPedia: การหลบหนีและการถูกขับไล่ของชาวเยอรมัน (ค.ศ. 1944–1950) http://www.bpb.de/geschichte/nationalsozialismus/d... http://www.dhm.de/lemo/html/wk2/kriegsverlauf/mass... http://cadmus.iue.it/dspace/bitstream/1814/2599/1/... http://www.yadvashem.org/odot_pdf/Microsoft%20Word... http://rcin.org.pl/Content/15652/WA51_13607_r2011-... https://books.google.com/books?id=8iPa2Q1HtP8C&pg=... https://books.google.com/books?id=wOsSG0K8hCYC&q=%... https://www.google.com/books?id=L-QLXnX16kAC&pg=PA... https://www.google.com/books?id=glMpTyiRXDoC&pg=PA... https://www.google.com/books?id=ovck_g0xwX0C&pg=PA...